ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

C A P E R

ปักหมุด ค้นหา จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
เพิ่มศักยภาพในจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ด้วยฐานข้อมูลระดับ BIG DATA.

CAPER
  • เพิ่มศักยภาพในการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่า

กระบวนการทำงานของ CAPER

CAPER เป็นระบบที่ช่วยในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ประกอบด้วยกระบวนการทำงานหลัก 5 ขั้นตอน ได้แก่

COLLECTION DATA

เก็บรวบรวมข้อมูลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษครอบคลุมทุกได้ ได้แก่ ประวัติ รูปภาพและเอกสารประจำตัว ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ การปักหมุด ข้อมูลครอบครัว และข้อมูลการได้รับการสงเคราะห์ เป็นต้น

CAPER การเก็บรวบรวมข้อมูล
ASSESSMENT

ประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนด้วยแบบประเมินที่หลากหลายตามที่สถานศึกษากำหนด ให้ครอบคลุมทักษะการเรียนรู้ทุกด้าน ระบบจะทำการประมวลผลและบันทึกผลการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนทางการศึกษาต่อไป

CAPER การประเมินก่อนการให้บริการ
PLANNING

จัดทำแผนการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยระบบรองรับการจัดทำแผนการการศึกษารูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP)

  • แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan: IIP)

  • แผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (Individualized Family Service Plan: IFSP)

  • แผนการจัดการเรียนรู้โดยครอบครัวและชุมชน. ( Family and Comemunity Service Plan : FCSP)

ครูที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนในระบบ เพื่อให้ระบบทำการประมวลผลและบันทึกข้อมูลไปใช้ในการวัดและประเมินผลต่อไป

CAPER การวางแผนทางการศึกษา
EVALUATION

เป็นการประเมินระหว่างการใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประเมินผลการจัดการเรียนรู้หลังการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan: IIP) และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อนำไปสรุปผลการพัฒนาผู้เรียนและจัดทำสมุดรายงานพัฒนาการ

CAPER การประเมินผล
REPORT

เป็นการรายงานผลการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และสรุปผลการจัดการเรียนรู้หลังการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล รายงานผลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพิ่มประสิทธิภาพในการวัดและประเมินผลให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

CAPER การรายงานผล
CAPER
1
พ.ศ. 2559 - 2560

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการศึกษา การประเมินผล และสรุปผลการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล

2
พ.ศ. 2563

ขยายผลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER กับกลุ่มเครือข่ายประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 9 ให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 10 จังหวัด

3
พ.ศ. 2564

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้นำระบบ CAPER ไปใช้ในโครงการ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้ง 77 จังหวัด

4
พ.ศ. 2564 - 2566

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ในการขยายผลการใช้งานะบบ CAPER ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นนวัตกรรมในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลระดับ Big Data สถานศึกษามีเครื่องมือในการบริหารการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ที่มีประสทธิภาพ

นวัตกรรมการบริหารการศึกษา

สถานศึกษามีนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

  • สรุปผลการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว

  • สรุปผลการประเมินคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

  • การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

  • การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีการให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

content-image
content-image
Student Support System

ระบบดูแลช่วยนักเรียน

มุ่งมั่น พัฒนา เทคโนโลยี ตามกลไกระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ให้สถานศึกษามีครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
เพื่อดำเนินการคัดกรองตามความเสี่ยงของนักเรียน และการบริหารจัดการข้อมูลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับสถานศึกษา ให้สามารถดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมไปถึงการชี้เป้าการส่งต่อนักเรียน ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและรวดเร็ว

  • การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

    นำเข้าข้อมูลจาก Collection Data ที่มีการจัดเก็ยข้อมูลนักเรียนอย่างเป็นระบบ อาทิเช่น ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ ข้อมูลครอบครัว และข้อมูลการได้รับการสงเคราะห์ เป็นต้น

  • การคัดกรองนักเรียน

    การคัดกรองความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่

    • ด้านสุขภาพ

    • ด้านการเรียน

    • ด้านครอบครัวและเศรฐกิจ

    • ด้านความปลอดภัย

  • การส่งเสริมนักเรียน

    บันทึกข้อมูลกิจกรรมที่ได้ส่งเสริมหรือพัฒนาให้กับนักเรียน ด้วยแบบบันทึกการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนรายบุคคลในงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  • การป้องกันและ แก้ไขปัญหา

    บันทึกข้อมูลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน ด้วยแบบบันทึกการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนรายบุคคลในงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  • การส่งต่อ

    บันทึกข้อมูลการส่งต่อนักเรียนภายในสถานศึกษา เช่น การบริการให้คำปรึกษา งานอนามัยนักเรียน งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (การช่วยเหลืออื่นๆ ฯลฯ) หรือการส่งต่อภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐและหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่

ผลดำเนินการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2565

สรุปผลการดำเนินการจัดการศึกษา การประเมินความสามารถพื้นฐาน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER ของศูนย์การศึกษาพิเศษ

9,605

การประเมินความสามารถพื้นฐาน

7,199

การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

5,724

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ผลดำเนินการจัดการศึกษา
ปีการศึกษา 2566

สรุปผลการดำเนินการจัดการศึกษา การลงทะเบียนเรียน การประเมินความสามารถพื้นฐาน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER ของศูนย์การศึกษาพิเศษ

27,850 คน

การลงทะเบียนนักเรียน

18,903 +96.89%

การประเมินความสามารถพื้นฐาน

16,783 +133.13%

การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

18,245 +218.75%

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

content-image

ทีมพัฒนาระบบ

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม